สรุปเคมี ม.5 เทอม 2 “ทฤษฎีกรด-เบส”

สรุปทฤษฎีกรด-เบส
มาแล้วครับสำหรับน้อง ม.5 ที่กำลังเรียนเรื่องกรด-เบสอยู่ อย่างที่พี่กัปตันเคยบอกไปนะครับว่าเนื้อหาเคมี ม.5 เทอม 2 เรื่องกรด-เบสนี้จะมีทั้งส่วนที่เป็นทฤษฎีและการคำนวณ วันนี้พี่กัปตันเลยได้รวบรวมเนื้อหาและสรุปทฤษฎีกรด-เบส มาให้ตามคำเรียกร้องแล้วครับ บอกเลยว่าจะช่วยให้น้องเข้าใจเนื้อหาเรื่องกรด-เบสมากขึ้นและจะสามารถต่อยอดในการคำนวณกรด-เบสได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน

ทฤษฎีกรด-เบส มี 3 ทฤษฎีด้วยกัน คือ

  1. ทฤษฎีกรด-เบสของอาร์เรเนียส
  2. ทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี
  3. ทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส

โดยทั้ง 3 ทฤษฎีกรด-เบสนั้นมีวิธีการพิจารณาหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยครับ

1. ทฤษฎีกรด-เบสของ “อาร์เรเนียส”

เป็นยังไงบ้างครับ? ถ้าน้องๆมีสารจะสามารถพิจารณาความเป็นกรด-เบสได้ไหม? ก็คือ เห็น H+ เป็นกรด และ OH- เป็นเบส เท่านั้นเอง แต่!!ทฤษฎีกรด-เบสของอาร์เรเนียสนั้นไม่สามารถพิจารณา NH3 ได้ว่าเป็นกรดหรือเบส? ดังนั้นจึงมีทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรีเกิดขึ้นนั่นเองครับ

2. ทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี

ทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรีนั้นสามารถพิจารณา NH3 ได้ครับโดยหลักการพิจารณาคือ สารที่ให้ H+ เป็นกรด และสารที่รับ H+ เป็นเบสนั่นเอง น้องๆตอบกันได้แล้วใช่ไหมครับว่า NH3 เป็นกรดหรือเบส แต่ถ้าเป็น BF3 ละครับเป็น กรดหรือเบส? ทฤษฎีของกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรีนั้นไม่สามารถพิจารณาได้ครับ เพราะฉะนั้นเราไปดูทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิสทฤษฎีสุดท้ายกันเลย

3. ทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส

ตอบกันได้แล้วใช่ไหมครับว่า BF3 เป็นกรดหรือเบส? ใช่แล้วครับเป็นกรดนั่นเอง โดยหลักการพิจารณาทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส คือ กรดจะรับ e- คู่โดดเดี่ยว และ เบสจะให้ e- คู่โดดเดี่ยว ดังนั้นทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิสนั้น น้องๆต้องเขียนโครงสร้างให้ชัดเจนก่อนนะครับ แล้วจะสามารถพิจารณาได้ว่าสารนั้นเป็นกรดหรือเบส

สรุปทฤษฎีกรด-เบส

เป็นยังไงบ้างครับ? ไม่ยากเลยใช่ไหม? พี่กัปตันฝากน้องๆกลับไปทบทวนทฤษฎีกรด-เบส ทั้ง 3 ทฤษฎีด้วยนะครับ แล้วต่อไปนี้น้องจะเก่งขึ้น สามารถพิจารณาได้แล้วว่าสารนั้นเป็นกรดหรือเบสได้ พี่กัปตันเป็นกำลังใจให้ สู้ๆนะครับ น้องทำได้แน่นอน

#เคมีจะไม่ยากถ้าน้องๆเปิดใจ