[เคมี ม.4] หน่วยความเข้มข้นที่ต้องรู้!!!

สรุปเคมีม.4 หน่วยความเข้มข้นที่ต้องรู้!!!

มีใครคิดถึงสรุปเคมีของพี่กัปตันกันบ้างไหมน้า? วันนี้พี่กัปตันกลับมาอีกครั้งพร้อมสรุปหน่วยความเข้มข้นของสารละลายที่น้องม.4 ต้องรู้และจำให้ได้ แต่!!!บางคนแค่เห็นชื่อเรื่องแล้วก็ท้อไปแล้ว เพราะหน่วยความเข้มข้นของสารละลายที่เจอมามันเยอะมากเลยใช่ไหมลูก ไม่เป็นไรนะเพราะสรุปหน่วยความเข้มข้นที่พี่กัปตันทำมาให้นี้อ่านง่าย เข้าใจง่าย จำง่ายแน่นอน และยังมีแบบทดสอบให้ลองทำวัดเข้าใจด้วยครับ เราไปดูกันเลย

โดยหน่วยความเข้มข้นของสารละลายแบ่งออกเป็น 6 หัวข้อ ได้แก่

  1. เปอร์เซ็นต์หรือร้อยละ (%)
  2. โมลาร์ (M)
  3. โมแลล (m)
  4. ส่วนในล้านส่วน (ppm)
  5. ส่วนในพันล้านส่วน (ppb)
  6. เศษส่วนโมล (X)

1) เปอร์เซ็นต์หรือร้อยละ แบ่งออกเป็น 3 สูตร ได้แก่
1.1 ร้อยละโดยมวล
1.2 ร้อยละโดยปริมาตร
1.3 ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร

หมายเหตุ มวลมีหน่วยกรัม (g) , ปริมาตรมีหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตร (cm3)

2) โมลาร์ (M)
** ใช้บ่อย เจอบ่ายมาก

3) โมแลล (m)
เน้นย้ำ ในสูตรต้องส่วนด้วยมวลของตัวทำละลาย มีหน่วยกิโลกรัม (Kg)

4) ส่วนในล้านส่วน หรือ Part per million : ppm (106)

5) ส่วนในพันล้านส่วน หรือ Part per billion : ppb (107)

หมายเหตุ มวลมีหน่วยกรัม (g) , ปริมาตรมีหน่วยลูกบาศก์เซนติเมตร (cm3)

6) เศษส่วนโมล (X)

เป็นยังไงบ้างครับ? สำหรับสรุปหน่วยความเข้มข้นของสารละลายไม่ยากเลยใช่ไหม? พอจะช่วยให้น้องจำได้ง่ายขึ้นบ้างไหม? ถ้าอยากเข้าใจเรื่องหน่วยความเข้มข้นของสารละลายและทำข้อสอบได้น้องต้องมีพื้นฐานของเรื่องโมลกันก่อนนะลูก ใครรู้ตัวว่าเริ่มเลือนลางแล้วรีบกลับไปทบทวน (แอบกระซิบว่าพี่กัปตันเคยทำสรุปสูตรโมลไว้ให้เหมือนกันน้า ลองย้อนกลับไปอ่านได้เลย) หรือถ้าอยากวัดความเข้าใจเรื่องหน่วยความเข้มนี้ น้องลองทำ Quiz ด้านล่างนี้ได้เลย ลุยยย

เฉลย ตอบข้อ a)
วิธีคิด :
จากสูตร โมลาร์ (M) = โมลตัวถูกละลายปริมาตรของสารละลาย
= 3 โมล0.6 ลิตร
= 5
ดังนั้น โซเดียมคลอไรด์ 3.0 โมล ในสารละลาย 0.6 ลิตร มีค่าเท่ากับ 5 โมลต่อลิตร

เคมีจะไม่ยากถ้าน้องๆเปิดใจ