รวมสูตร “โมล” พร้อมยกตัวอย่าง อ่านจบ ทำได้ชัวร์
น้อง ม.4 หลายคนที่กำลังเตรียมเนื้อหาเคมี เทอม 2 น่าจะเริ่มเจอกับคำว่า “โมล” กันมาบ้างแล้วใช่ไหม? แต่บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าโมลคืออะไร หรือจะคำนวณมันได้ยังไง? วันนี้พี่จะมาช่วยสรุปเรื่องโมลให้ทุกคนอ่านง่าย เข้าใจ อีกทั้งยกตัวอย่างพร้อมเฉลยมาให้ดูอีกด้วย พร้อมแล้วไปดูกัน!!
”โมล“ เป็นหน่วยที่ใช้บอกปริมาณของสาร มันเหมือนกับเวลาที่เราใช้คำว่า “โหล” เพื่อบอกจำนวนของไข่หนึ่งโหล แต่ในทางเคมีนั้น “1 โมล” จะเท่ากับจำนวนอนุภาคหรือปริมาณต่างๆ โดยจะออกมาเป็นสูตรได้ดังนี้
เรามาดูตัวอย่างการคำนวณโมลแบบง่ายๆกันดีกว่าครับ
ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งข้อนี้จะเป็นการใช้สัมพันธ์ระหว่างมวลกับปริมาตร
ตัวอย่างสุดท้ายจะเกี่ยวข้องกับจำนวนอนุภาคกับปริมาตรนั่นเอง แอบกระซิบก่อนว่าพี่เคยทำสรุปจำนวนอนุภาคไว้แล้ว ใครลืม!! ย้อนกลับไปทวนก่อนได้นะ
น้องคนไหนที่ยังสงสัยหรืออยากฝึกทำโจทย์เพิ่มเพื่อเช็คตัวเอง มาครับเรามาลองดูเคมี K เคมี Quiz กันดีกว่า จะทำกันได้ไหมนะ?
สรุปแล้วการคำนวณโมล ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยใช่มั้ย!? เมื่อเราเข้าใจสูตรและวิธีการคำนวณ น้องก็จะสามารถนำไปทำโจทย์หรือข้อสอบได้อย่างมั่นใจ และบอกเลยว่าเรื่องโมลนี้จะเป็นพื้นฐานการคำนวณบทอื่นๆในเคมีด้วย ดังนั้นพี่ก็อยากให้น้องทบทวนกันเยอะๆนะครับ พี่เป็นกำลังใจให้เสมอ
เฉลย ตอบข้อ 3
วิธีคิด
ใช้สูตร mol = g/mw
แทนค่า 0.5 = g/16
g = 8
ดังนั้น แก๊สมีเทน มีมวล 8 กรัม
#เคมีจะไม่ยากถ้าพวกเราเปิดใจ