สรุป ครบ จบ สัญลักษณ์นิวเคลียร์ที่ม. 4 ต้องเจอ !!

สรุป ครบ จบ สัญลักษณ์นิวเคลียร์ที่ม. 4 ต้องเจอ !!

สวัสดีครับ น้อง ม.4 เมื่อเราก้าวเข้าสู่โลกของเคมีระดับมัธยมปลาย หนึ่งในสิ่งแรกที่น้อง ๆ จะต้องทำความรู้จัก คือ “สัญลักษณ์นิวเคลียร์” ฟังดูอาจน่ากลัว แต่จริง ๆ แล้ว มันคือสิ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจโครงสร้างของอะตอมได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น! วันนี้พี่มีสรุปเนื้อหามาฝากน้องๆนะครับ

ก่อนอื่นเลย เรามาถอดรหัส “สัญลักษญ์นิวเคลียร์” แบบไม่ต้องท่อง!
น้องๆเคยเห็นตัวอักษรย่อแบบนี้มั้ย X A Z ไม่ใช่รหัสลับ แต่เป็น “สูตรลับ” ในการอ่านค่าอะตอม

เห็นมั้ยว่า ถ้าเข้าใจแค่ 2 ค่าคือ A กับ Z เราสามารถหาทุกอย่างที่เหลือได้เลย!!

ต่อไปเปิดโลก ไอโซโทป (Isotope) — พี่น้องฝาแฝดของธาตุ! เมื่อเข้าใจเลขอะตอมกับเลขมวลแล้ว น้อง ๆ จะสามารถเข้าใจ “ไอโซโทป” ได้สบายมาก!

แม้จะมีความแตกต่างด้านมวล แต่น้อง ๆ จะสังเกตว่า “เลขอะตอมยังคงเป็น 1” เหมือนกันทุกตัว เพราะพวกมันยังคงเป็นธาตุไฮโดรเจนเหมือนเดิมนั่นเอง

ต่อไปเรามาทำความรู้จักกับไอโซโทน (Isotone) กันต่อ
ไอโซโทน คือ ธาตุที่มีจำนวน “นิวตรอน” เท่ากัน ถึงจะเป็นธาตุคนละตัวก็ตาม โปรตอนไม่ต้องเท่าก็ได้

อีกหนึ่งตัวที่สำคัญเหมือนกันเลย คือ ไอโซบาร์ (Isobar)
จำง่ายๆ คือ เป็นธาตุคนละตัวที่มี่เลขมวล “เท่ากัน” แม้โปรตอน นิวตรอน
จะต่างกันก็ไม่เป็นไร ขอแค่เลขมวลเท่าก็พอ

ต่อไปตัวสุดท้ายแล้ว คือ ไอโซอิเล็กทรอนิกส์ (Isoelectronic)
จำง่ายๆ มี “จำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน” แม้จะเป็นธาตุต่างชนิด หรือเป็นไอออนก็ไม่เป็นไร ขอแค่จำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน ก็เป็นเพื่อนกลุ่มไอโซอิเล็กทรอนิกส์ได้เลย

เทคนิคการจำง่ายๆ เกี่ยวกับ ไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์ และไอโซอิเล็กทรอนิกส์
พี่ได้สรุปมาไว้ให้น้องๆแล้วนะครับ

จบไปแล้วนะครับกับ สัญลักษณ์นิวเคลียร์ น้องๆอย่าปล่อยให้คำศัพท์เคมีน่ากลัว จนทำให้เราหมดกำลังใจ ถ้าแยกให้ถูกว่า “เท่ากันตรงไหน” ทุกอย่างจะชันเจนขึ้นแบบสุดๆ และเชื่อเถอะว่า ถ้าเข้าใจบทนี้ พอเจอในโจทย์ข้อสอบเมื่อไหร่…. น้องจะยิ้มได้ก่อนตอบแน่นอนครับ

#เคมีจะไม่ยากถ้าพวกเราเปิดใจ