สรุป เข้มพร้อมสอบ พันธะเคมี ม.4

น้อง ม.4 ก็เดินทางมาจนถึงช่วงของการสอบปลายภาคแล้วนะครับ สำหรับวิชาเคมีในบท “พันธะเคมี” บอกเลยว่าเป็นบทที่ควรเก็บคะแนนมาก และวันนี้พี่ได้ทำสรุปเข้ม ให้น้อง ม.4 พร้อมสอบ สำหรับบทพันธะเคมีมาให้เรียบร้อยแล้วครับ รับรองว่าใครอ่านบทความนี้จบ สอบปลายภาคนี้เก็บคะแนนเต็มกันอย่างแน่นอน

น้อง ม.4 ต้องรู้ก่อนว่าการสร้างพันธะเคมีของอะตอมนั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากอะตอมต้องการจะปรับตัวให้ตนเองมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 หรือให้ใกล้เคียงกับการครบ 8 ให้มากที่สุด (ตามกฎออกเตต) ดังนั้นจึงต้องอาศัยอะตอมอื่น ๆ มาเป็นตัวช่วยให้อิเล็กตรอน หรือเป็นตัวรับเอาอิเล็กตรอนออกไป และจากความพยายามในการปรับตัวของอะตอมเช่นนี้เองที่ทำให้อะตอมมีการสร้างพันธะเคมีกับอะตอมอื่น ๆ นั่นเองครับ

โดยเราสามารถจำแนกพันธะเคมีได้เป็น 3 ชนิด คือ

  1. พันธะโลหะ
  2. พันธะไอออนิก
  3. พันธะโคเวเลนต์

พันธะโลหะ

คือแรงยึดเหนี่ยวที่ทำให้อะตอมของโลหะอยู่ด้วยกันในก้อนของโลหะ โดยมีการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมของโลหะ

พันธะไอออนิก

เป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ เกิดขึ้นจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก (cation)ของโลหะ และไอออนลบ (anion)ของอโลหะ ทำการยึดเหนี่ยวอะตอมเข้าหากันโดยการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนวงนอกสุดระหว่างอะตอม เพื่อทำให้เวเลนต์อิเล็กตรอนของทั้งคู่มีจำนวนเต็มตามกฎออกเตต

พันธะโคเวเลนต์

คือพันธะเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของอะตอมหรือธาตุในกลุ่มอโลหะด้วยกัน โดยการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอน 1 คู่หรือมากกว่าร่วมกันระหว่างอะตอมนั่นเอง

อ่านมาจนถึงช่วงสุดท้ายแล้ว เป็นยังไงกันบ้าง? พอจะเข้าใจการเกิดพันธะเคมีทั้ง 3 พันธะมากขึ้นมั้ยครับ? สิ่งสุดท้ายสำหรับบทความนี้ที่พี่อยากฝากน้อง ม.4 ไว้ก็คือในบทพันธะเคมีนี้ น้องต้องรู้เกี่ยวกับสมบัติของธาตุก่อน โดยเฉพาะในส่วนของธาตุโลหะ กึ่งโลหะ และอโลหะ ดังนั้นหากน้องคนไหนยังไม่แม่นเรื่องสมบัติของธาตุพี่อยากให้น้องลองกลับไปทบทวนก่อนนะ ซึ่งพี่ก็เคยทำบทความเรื่องสมบัติของธาตุไว้แล้ว ลองย้อนกลับไปอ่านกันได้เลย แล้วเราจะเข้าใจบทพันธะเคมีในปลายภาคนี้มากขึ้นอย่างแน่นอน พี่เป็นกำลังใจให้เสมอ สู้ๆนะครับทุกคน

#เคมีจะไม่ยากถ้าพวกเราเปิดใจ